“โรครองช้ำ” หรือ “ภาวะพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” คือ ภาวะที่เกิดจากการบาดเจ็บของพังผืดใต้ฝ่าเท้า(plantar fascia) ซึ่งมีลักษณะเป็นเอ็นแผ่ที่เกาะจากกระดูกส้นเท้าไปจนถึงฐานของกระดูกนิ้วเท้า มีหน้าที่ในการรองรับส่วนของโค้งเท้าและดูดซับแรงกระแทกในขณะที่มีการลงน้ำหนักหรือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินและการวิ่ง เมื่อพังผืดใต้ฝ่าเท้ามีความตึงตัวมากและถูกยืดออกอย่างฉับพลัน จากการใช้งานที่มากเกินไปจะส่งผลทำให้เกิดการฉีกขาดเล็กๆของพังผืดฝ่าเท้า เกิดการอักเสบและอาการเจ็บตามมาได้ โดยมักจะเกิดการฉีกขาดตรงจุดเกาะบริเวณส้นเท้า จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรครองช้ำมักจะมีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้านั่นเอง
อาการรองช้ำ มีอาการเจ็บแปล๊บเหมือนมีอะไรมาทิ่มบริเวณส้นเท้าหรือตามแนวพังผืดใต้ฝ่าเท้า มักจะมีอาการมากในตอนเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือเมื่อยืนลงน้ำหนักหลังจากที่นั่งนาน แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งแล้วอาการจะดีขึ้น และอาการจะกลับมาอีกครั้งหากเดินนานเกินไป
ท่าที่ 1
ท่าที่ 2
ท่าที่ 3-4
ท่าที่ 5