ชาร้าว หมอนรองกระดูกทับเส้น
PB Clinic คลินิกกายภาพบำบัด ทำการรักษาด้วยด้วยศาสตร์ทางกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้เครื่องมือนำเข้าที่ทันสมัย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและมีประสิทธิภาพสูงในทำการรักษาอาการปวดและช่วยปรับโครงสร้างร่างกายในส่วนที่มีปัญหาให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ โดยทีมนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ด้านระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อร่างกาย
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ?
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดและเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ หากมีอาการปวดและเริ่มมีอาการปวดหลัง หรือภาวะเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบทำการรักษาหรือปรึกษานักกายภายภาพบำบัด เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
พฤติกรรมเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นฯ
- พบได้มากในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเริ่มมีความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมพอออกแรงมาก อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวด
- พบได้ในผู้ที่มีกิจกรรม การออกกำลังกายหรือชอบทำกิจกรรมที่มีความโลดโผน
- พบในกลุ่มคนวัยทำงานที่เคยมีประวัติเป็นออฟฟิศซินโดรม ยืนนาน นั่งหน้าจอคอมนานๆ เป็นต้น
- พบในผู้ป่วย ข้ออักเสบ เนื้องอกบางประเภท
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป กระดูกสันหลังจะต้องรับภาระอย่างหนักและอาจส่งผลต่อหมอนรองกระดูกได้เช่นกัน
- การสูบบุหรี่ พบว่าคนที่สูบบุหรี่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หมอนรองกระดูกสันหลังน้อยลง ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
เช็กอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นฯ ?
- ปวดร้าว ปวดจี๊ดเหมือนไฟฟ้าช๊อต ลงมาตั้งแต่บริเวณสะโพก ขา น่อง จนถึงเท้า
- มีอาการชาร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ส่วนใหญ่อาการปวดจะมากขึ้นตอนที่นั่งนานหรือยืนนาน ๆ
- มีอาการอ่อนแรงที่ขาร่วมด้วย
- เมื่อ ไอ จาม เบ่ง มีอาการปวดหลังหรือสะโพก
4 ระยะ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ระยะที่ 1 หมอนรองกระดูกเสื่อม
- ระยะที่ 2 มีการฉีกขาดบริเวณชั้นนอก ทำให้หมอนรองกระดูกชั้นใน ที่เป็นเจลเคลื่อนออก
- ระยะที่ 3 หมอนรองกระดูกชั้นใน เคลื่อนออกมาด้านนอก
- ระยะที่ 4 หมอนรองกระดูกเคลื่อนหลุดแยกออกมา
หมอนรองกระดูกอักเสบ ?
เราสามารถสังเกตอาการได้เบื้องต้น คือ เมื่อเรานั่งแล้วไม่สามารถนั่งได้เป็นระยะเวลานาน ๆ เมื่อยืน หรือแอ่นตัวอาการดีขึ้น แต่เมื่อก้มตัวอาการจะแย่ลง โดยจะมีอาการลักษณะนี้เป็นระยะเวลานาน ในกรณีที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง รักษามาหลายวิธีแล้วยังไม่ดีขึ้นอาการอาจเข้าข่ายหมอนรองกระดูกอักเสบ ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือให้นักกายพบำบัดช่วยประเมินอาการและวา
หมอนรองกระดูก ปวดแบบไหนต้องรีบรักษา ?
- มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน ทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- ปวดหลังร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า มีอาการชาร่วมด้วย
- มีอาการขาอ่อนแรง กระดกข้อเท้าไม่ได้
- มีอาการปวดเฉียบพลันและรุนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง
- มีอาการปวดร่วมกับอาการแทรกซ้อน เช่น ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
- มีอาการปวดจากการได้รับบาดเจ็บหรือหกล้มจนมีอาการ หมอนรองกระดูกปลิ้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นออฟฟิศซินโดรม ?
- ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือแขน
- ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
- ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
- ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
- ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
- มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์หรือใช้แป้นพิมพ์ในท่าเดิม เป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวแล้วไปกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นข้อมือหรือนิ้วมือจนอักเสบขึ้น เกิดพังผืด
อาการชา คืออะไร ?
ปวดต้นคอ ชามือ อ่อนแรงของขา เดินเกร็ง เดินลำบาก เกิดจากปัญหาของการกดทับไขสันหลัง ทำให้ไขสันหลังมีอาการบวม อักเสบ ขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งอาการชาเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย บริเวณที่พบได้บ่อย คือ บริเวณมือและเท้า เช่น มือชา เท้าชา ชาปลายนิ้วมือ โดยลักษณะของอาการชาอาจเป็นได้ทั้งสูญเสียความรู้สึก รู้สึกแบบผิวหนังหนาๆ ซ่าๆ เหมือนเข็มทิ่ม ปวดแสบร้อน เสียวคล้ายไฟช็อต
สาเหตุของอาการชา ?
- เกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy)
- หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับไขสันหลัง สภาวะนี้พบได้ในกรณีของการเสื่อมหรือการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง
- เกิดจากระบบเส้นประสาทส่วนปลาย คือ ภาวะการกดทับของเส้นประสาทในแขนขา โดยมักพบในตำแหน่งที่เส้นประสาทอยู่ตื้น และสัมพันธ์กับการนั่งหรือทำท่าเดิมนานๆ ทำท่าทางใดๆ ซ้ำๆ หรือมากเกินไป
อาการชาแบบไหนที่ควรรีบมารักษา ?
– Focus ShockWave : คลื่นกระแทก ตรงจุด ที่ลงได้ลึกมากกว่า Radial ShockWave กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่มีปัญหา
– Radial ShockWave : คลื่นกระแทกที่รูปแบบคลื่นกระจายออกเป็นบริเวณกว้าง และพลังงานจะลดลงเรื่อยๆ สัมพันธ์กับความลึกของเนื้อเยื่อ
- เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy) สำหรับลดอาการอักเสบปวด บวม ของระบบกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูกและเส้นเอ็นที่มีการบาดเจ็บ
- เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound therapy) เป็นคลื่นความร้อนลึก ช่วยลดปวด ลดการอักเสบและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดการยึดตรึงของข้อต่อ รักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อ เอ็นอักเสบ รวมทั้งออฟฟิศซินโดรม
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrotherapy) กระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการหดตัว ชะลอการลีบเล็กของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนและลดบวมจากการหดตัวเป็นจังหวะของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- แผ่นประคบร้อน (Hot pack) ช่วยลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ, ลดอาการเกร็งตึงของกล้ามเนื้อ, ช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว (Vasodilation) เลือดไหวเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
- Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) หรือการรักษาด้วยเทคนิคการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ในการบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรมอย่างได้ผล ช่วยลดอาการปวด กระตุ้นได้ถึงระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท โดยใช้กลไกการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าลงลึกถึงจุดที่มีอาการปวด
ปวดแบบไหน ควรมากายภาพ ?
ปวดจนร้าวไปยังส่วนต่างๆ ปวดจนนอนไม่หลับ ปวดมากจนกระทบกับงานและชีวิตประจำวัน กลุ่มที่มีอาการปวดแบบเรื้อรัง หรือกลุ่มที่ทำการรักษาด้วยวิธีปกติไม่หาย ควรมาการทำกายภาพเพื่อลดความเจ็บปวด และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อให้อาการปวดลดลงและยั่งยืนในระยะยาว